Asian Development Bank (ADB)
Asian Development Bank
ADB
ธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระดับพหุภาคี เช่นเดียวกับธนาคารโลก โดยก่อตั้งขึ้นภายใต้การดำเนิ นการของกลุ่มประเทศสมาชิกECONOMIC AND SOCIAL COMMISSION FOR ASIA AND PACIFIC (ESCAP) 31 ประเทศ เมื่อปี 2509 และเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2509 โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 31 ประเทศ ผู้ร่วมก่อตั้ง ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิก 65 ประเทศ (จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ นอกภูมิภาค) ซึ่งประเทศสมาชิกดังกล่าว ต้องเป็นสมาชิกขององค์ การสหประชาชาติหรือทบวงการชำนั ญพิเศษในกรอบสหประชาชาติ ธนาคารพัฒนาเอเชียมีสำนั กงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
วัตถุประสงค์หลักของธนาคารพั ฒนาเอเชีย
มุ่งให้ความช่วยเหลือในการพั ฒนาเศรษฐกิจและสั งคมของประเทศสมาชิก บรรเทาปัญหาความยากจน พัฒนาภาคสังคมและส่งเสริ ม
ธรรมมาภิบาล สำหรับกรอบการดำเนิ นการในระยะยาว
(ปี 2544-2559) ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ วางนโยบายหลักเกี่ยวกับ
การพั ฒนาภาคเอกชน ความร่วมมือในระดับภูมิภาค และอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่ งยืนโดยธนาคารพัฒนาเอเชียจะให้ ความช่วยเหลือในรูปแบบเงินกู้ ค้ำประกันเงินกู้ และความช่วยเหลือวิชาการ
เงินทุนของธนาคารพัฒนาเอเชีย
ได้มาจาก
1) เงินทุนสามัญ ประกอบด้วย
- เงินค่าหุ้นจากประเทศสมาชิก
- เงินที่ธนาคารพัฒนาเอเชียกู้ยื มหรือระดมทุนจากตลาดเงินทุ น
ระหว่างประเทศ
- เงินรายได้สุทธิจากการดำเนิ นงานของธนาคาร
2) เงินกองทุนพิเศษ ประกอบด้วย
- กองทุนพัฒนาเอเชียซึ่งให้เงินกู้ ลักษณะผ่อนปรนสูงแก่ประเทศ
กำลั งพัฒนาที่ยากจน
- กองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือด้ านวิชาการและกองทุนพิ เศษของ
ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนการให้ความช่ วยเหลือทางวิชาการ
เงินทุนของธนาคารพัฒนาเอเชีย
ปี 2545 ธนาคารพัฒนาเอเชียมีทุนจดทะเบี ยนทั้งสิ้น 3,465,669 หุ้น
เป็นเงิน 47,596.80 ล้านเหรียญสหรัฐ
เป็นทุนที่ชำระแล้วจำนวน 3,347.66 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยประเทศไทยถือหุ้นในธนาคารพั ฒนาเอเชียถือหุ้นในธนาคารจำนวน 48174 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 1.382 % ของจำนวนหุ้นทั้ งหมดและประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้ นสูงเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศสมาชิกทั้งหมด หรืออันดับที่ 11 ของประเทศผู้ถือหุ้นในภูมิภาค
มีมูลค่าทุนทั้งหมด 652.56 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว45.70 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นผู้ถือหุ้นสูงสุดในสัดส่ วนเท่ากันคือร้อยละ 13.092 ของหุ้นทั้งหมด
สำนักงานผู้แทนของธนาคารพั ฒนาเอเชีย
ปัจจุบันธนาคารพัฒนาเอเชียได้จั ดตั้งสำนักงานผู้ แทนกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆทั่วโลก 16 แห่ง ได้แก่
อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย
คาซัคสถาน คีร์กิช ลาว มองโกเลีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา
ทากิชสถาน และเวียดนาม
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 คณะกรรมการบริหารธนาคารพั ฒนาเอเชียได้อนุมัติในหลั กการให้จัดตั้งสำนักงานผู้ แทนของธนาคารพัฒนาเอเชี ยในประเทศไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารพั ฒนาเอเชียกับประเทศไทย
1. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิ กในความตกลงว่าด้ วยการสถาปนาธนาคารพัฒนาเอเชีย เมื่อปี 2509 และมีการออกพระราชบัญญัติให้ อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกั บธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ.2509 เพื่อให้อำนาจรัฐบาลปฏิบัติ การเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชี ยตามข้อผูกผัน ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกจะต้องปฏิ บัติตามข้อตกลงดังกล่าว เพื่อให้รัฐบาลมีอำนาจถื อประโยชน์จากการเป็นภาคีสมาชิ กด้วย
2. ธนาคารพัฒนาเอเชียได้เริ่มให้ ความช่วยเหลือกับประเทศไทยตั้ งแต่ปี 2511 ในรูปต่างๆ ได้แก่ เงินกู้สำหรับโครงการโครงสร้ างพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น
สาธารณูปโภค พลังงาน คมนาคม การเกษตร เป็นต้น ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้ เปล่า และเงินกู้ที่ให้กับภาคเอกชน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้เงินกู้ และความช่วยเหลือกั บประเทศไทยเป็นเงิน 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีโครงการเงินกู้จากADB ประมาณ 80 โครงการ
ความช่วยเหลืออื่นๆ ที่ธนาคารพัฒนาเอเชียให้แก่ ประเทศไทย
1. ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2542 ประเทศไทยไม่ได้กู้ยืมเงิ นจากธนาคารพัฒนาเอเชีย อย่างไรก็ตาม ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้การสนั บสนุนการพั ฒนาประเทศไทยและความร่วมมื อในระดับภูมิภาค(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2546) ธนาคารพัฒนาเอเชียให้ความช่ วยเหลือทางวิชาการกั บประเทศไทยทั้งสิ้น 16โครงการ รวมเงินทั้งสิ้น 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. การสนับสนุนโครงการความร่วมมื อในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยรัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลื อทางวิชาการจาก ADB ในการทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในระยะเริ่มต้น และการดำเนินการส่วนใหญ่ ตามโครงการดังกล่าวจะเป็นความร่ วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่ มแม่น้ำโขงในการสร้ างระบบคมนาคมเชื่ อมโยงประเทศในอนุภูมิภาค มีโครงการที่ดำเนินการแล้วทั้ งสิ้น 78 โครงการวงเงิน 887 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินช่วยเหลือทางวิชาการ 63 โครงการ วงเงิน 42.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
3. การให้ความช่วยเหลือผ่านกรมวิ เทศสหการ เพื่อเสริมสมรรถนะของหน่วยงานต่ างๆ ได้แก่ สถาบันนานาชาติเพื่อการค้ าและการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีแห่ งเอเชียและสถาบันลุ่มแม่น้ำ โขงที่จังหวัดขอนแก่น
บทบาทของกระทรวงการคลัง
ในส่วนของกระทรวงการคลังหน่ วยงานหลักที่ต้องรับผิ ดชอบ
และประสานงานกับ ADB
และประสานงานกับ ADB
ได้แก่
1. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มีหน้าที่ในการเพิ่มทุน การออกเสียงลงคะแนน การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมู ลเศรษฐกิจที่สำคั ญโดยประสานงานกับหน่ วยงานภายในประเทศไทยได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพั ฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงานบริ หารหนี้สาธารณะ
2.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่พิจารณาโครงการเงินกู้ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และความร่วมมือต่างๆ ที่เป็นงานในภาคปฏิบัติที่สำคัญ เป็นต้น
ที่มา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น